วิทยาลัยเทคโนโลยีนครปฐม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยมีอาจารย์อภินันท์ เหงี่ยมสง่า เป็นผู้ก่อตั้ง และเป็นผู้รับใบอนุญาตหรือผู้อำนวยการ ในการก่อตั้งเพื่อหวังที่จะพัฒนากิจการของวิทยาลัยให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง และพัฒนาทางด้านการศึกษาให้มีคุณภาพหลากหลาย เริ่มดำเนินกิจการของวิทยาลัยตั้งแต่ก่อตั้งโดยใช้อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้สองชั้นต่อมาได้พัฒนาเพิ่มเติมดังนี้

ครั้งที่ ๑ ลงทุนสร้างตึกคอนกรีต ๔ ชั้น ๒๔ ห้องเรียนในปีการศึกษา ๒๕๒๗
ครั้งที่ ๒ ลงทุนซื้อที่ดินเพิ่มเติมพร้อมกับสร้างอาคารคอนกรีต ๔ ชั้น ๓ หลัง รวม ๖๐ ห้องเมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๐

การดำเนินงานดังกล่าวเพื่อให้นักศึกษาได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานสมบูรณ์ถือว่าเป็นวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของจังหวัดนครปฐมในการดำเนินงานวิทยาลัยได้รับการยอมรับจากบรรดาผู้ปกครอง และลูกศิษย์ จึงได้มีการขยายโอกาสทางการศึกษาให้มากขึ้นทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยเริ่มต้นเปิดสอนประเภทวิชาพาณิชยกรรม ประเภทวิชาบริหารธุรกิจสาขาวิชาการบัญชี การตลาด และขออนุญาตเพิ่มเติมสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมเปิดสอนสาขาเครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง เทคนิคสถาปัตยกรรม และขอเพิ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันวิทยาลัยเทคโนโลยีนครปฐมมีครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่รวมกันประมาณ ๔๐ คน เพื่อคอยดูแลอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา

“เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  ควบคู่คุณธรรม  ก้าวทันเทคโนโลยี  มีมาตรฐานการศึกษา  นำพาสู่อาชีพ”

สีประจำวิทยาลัย  :  น้ำเงิน – ชมพู

 สัญลักษณ์ หรือโลโก้

วิทยาลัยเทคโนโลยีนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ที่ตั้ง  เลขที่ ๘๐  ถนนไร่เกาะต้นสำโรง  ตำบลพระประโทน  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐

Website : www.technonp.ac.th
E – mail : technonp_2016@hotmail.com

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑  สำนักงานการศึกษาเอกชน  จังหวัดนครปฐม  สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

วิทยาลัยเราตั้งอยู่บนพื้นที่ทั้งหมด ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๒๗ ตารางวา
ทิศเหนือ         จรดกับโรงเรียนอนุบาลหอเอก
ทิศใต้             จรดกับหมู่บ้านเอื้ออาทร ถนนเพชรเกษม 28
ทิศตะวันออก   จรดกับหมู่บ้านเมืองทอง
ทิศตะวันตก     จรดกับหมู่บ้านสระแก้ว

แผนภูมิการบริหารจัดการศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีนครปฐม นครปฐม

จำนวนครู / บุคลากรทางการศึกษา / บุคลากรอื่น ๆ

ประเภท
บุคลากร
จำนวน
(คน)
สภานภาพ
ใบประกอบ
วิชาชีพ
วุฒิการศึกษา
ครู
ประจำ
ครู
พิเศษ
มี
ไม่มี
ปริญญา
เอก
ปริญญา
โทร
ปริญญา
ตรี
ตำกว่า
ปริญญาตรี
ผู้รับใบอนุญาต - - - - - -
ผู้จัดการ - - - - - -
ผู้อำนวยการ - - - - - -
ครู ๓๐ ๒๕ ๒ู - ๒๑
บุคลากรทาง
การศึกษา
- - -
รวม ๓๒ ๓๐ ๒๗ - ๒๒

คณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบัน

๑. นายชโนทัย เหงี่ยมสง่า ผู้รับใบอนุญาต
๒. นายอภินันท์ เหงี่ยมสง่า ผู้จัดการ
๓. นางนวรัตน์ สิริล้อสกุลเพชร ผู้อำนวยการ
๔. นางณัฐสิทรา ปิ่นหอม ปิ่นหอม
๕. นางจุไรรัตน์ ชำนาญ รองฯ ผ่ายวิชาการ
๖. นางจิตรลดา อัคคะวณิชชา รองฯ ฝ่ายแผนงาน
และความร่วมมือ
๗. นายยุพิน รัตนกุลดิลก รองฯ ฝ่ายบริหาร
และทรัพยากร
๘. นายภาณุพงษ์ จันระมาด รองฯ ฝ่ายพัฒนา
กิจการนักศึกษา
๙. นางอารัตน์ เรืองรังษี ผู้แทนครู
๑๐. นางอุมาพร จันตะโก ผู้แทนผู้ปกครอง
๑๑. นายชัยยุธ มณีรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๒. ดร.สุคนธ์ บุญมาก ผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๓. ดร.เชิดชัย ธุระแพง ผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๔. นางอุทัยวรรณ ลิขิตผลิน กรรมการและเลขานุการ

ผังอาคารสถานที่

ข้อมูลอาคารสถานที่

๑. อาคารเรียน
หลัง
๒. อาคารเอนกประสงค์
หลัง
๓. ห้องเรียน
๖๖
ห้อง
๔. ห้องปฏิบัติการ
๑๕
ห้อง
๕. ห้องพักครู
ห้อง
๖. ห้องประกอบ
๒๘
ห้อง

ข้อมูลครุภัณฑ์

๑. เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการบริหารจัดการ ๑๖ เครื่อง
๒. เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ๗๕ เครื่อง
๓. เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย ๔๕ เครื่อง
๔. เครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษ ๔๕ เครื่อง

แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา

๑. ห้องสมุด
๒. ห้องอินเตอร์เน็ต
๓. ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาการบัญชี
๔. ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาการตลาด / การจัดการ
๕. ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาเครื่องกล
๖. ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
๗. ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
๘. ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม
๙. ห้องศูนย์สารสนเทศ
๑๐. ห้องปฏิบัติการ

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชนบริเวณสถานศึกษา

สภาพสังคมของชุมชน วิทยาลัยเทคโนโลยีนครปฐม จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครนครปฐม อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม  อยู่ในเขตปริมณฑลติดต่อกับจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และนนทบุรี การคมนาคมสะดวก มีรถโดยสารประจำทางและรถไฟสายใต้ หลายสายผ่าน ทำให้มีการคมนาคมคล่องตัวมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน รวมทั้งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัย โรงเรียนภาครัฐและเอกชน โรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการอื่น ๆ มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นมีลักษณะสังคมเมือง

สภาพเศรษฐกิจของชุมชน  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม  มีประชากรทั้งสิ้น  ๒๗๖,๒๑๔   คน  เป็นชายประมาณ ๑๓๑,๗๕๗ คน (ร้อยละ ๔๗.๗๐) เป็นหญิงประมาณ ๑๔๔,๔๕๗ คน (ร้อยละ ๕๒.๓๐)  ผลิตภัณฑ์มวลรวมสภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครปฐมในปี ๒๕๕๘ พบว่า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย ต่อหัว ๒๒๑,๒๘๕ บาทต่อปี โดยทั้งจังหวัดมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด อนุกรมใหม่ ตามราคาประจำปี ๒๑๗,๑๔๒ ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมากที่สุด คิดเป็นมูลค่า ๑๒๓,๗๘๕ ล้านบาท หรือร้อยละ ๕๗.๐๐ รองลงมาเป็นสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน คิดเป็นมูลค่า ๒๑,๕๕๔ ล้านบาท หรือร้อยละ ๙.๙๐ สาขาเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ และการป่าไม้ คิดเป็นมูลค่า ๑๘,๓๘๐ ล้านบาท หรือร้อยละ ๘.๕๐ สาขาการ บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ คิดเป็นมูลค่า ๗,๘๔๐ ล้านบาท หรือร้อยละ ๓.๖๐ และสาขาการศึกษา คิดเป็นมูลค่า ๗,๑๑๑ ล้านบาท หรือร้อยละ ๓.๓๐ ส่วนที่เหลืออีกประมาณ ๓๘,๔๗๐ ล้านบาท หรือร้อยละ ๑๗.๗๐ กระจายอยู่ในสาขาการผลิตอื่น ๆ

ความเป็นมาของเทศบาลนครนครปฐม เริ่มต้นจากผู้คนที่อพยพ เข้ามาอาศัยอยู่ เพื่อประกอบอาชีพค้าขาย การเกษตรส่วนใหญ่ เป็นคนต่างถิ่น ทำให้เกิดความแตกต่างกันในด้านเศรษฐกิจ ประเพณี วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยเหตุนี้ทำให้ประชาชน มีประเพณี วัฒนธรรม การประกอบอาชีพที่หลากหลาย มีแหล่งเรียนรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรม โบราณสถานเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ และหลากหลายทำให้การตั้ง ถิ่นฐาน ของชุมชน มีลักษณะหนาแน่นมากแถบลุ่มแม่น้ำท่าจีน ยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย ผสมผสานกับเชื้อชาติอื่น ๆ  เช่น มอญ ไทยทรงดำ เป็นต้น ด้วยแหล่งทำเล ที่ตั้งเหมาะสม  สำหรับ ทำการเกษตรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ทำธุรกิจ และรับจ้าง ในภาคอุตสาหกรรมและการประกอบการ ดังนั้น ฐานะทางเศรษฐกิจของประชากรในชุมชน จึงอยู่ในระดับปานกลาง

เทศบาลเมืองนครนครปฐม ที่เป็นโบราณสถาน แหล่งภูมิปัญญาชาวบ้าน ความเป็นอยู่แบบมอญ วิถีชีวิตแบบไทยทรงดำและลาวโซ่ง สามารถหาชมได้ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์วรมหาวิหาร ที่ยังคงรักษาไว้ให้นักท่องเที่ยว ทั้งไทยและต่างประเทศได้ศึกษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมได้อย่างเต็มที่ สมดังคำขวัญของจังหวัดนครปฐม

ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น  พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน

จากสถานที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีนครปฐม ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองนคร นครปฐม มีเขตติดต่อกับจังหวัดราชบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี จึงทำให้ในปัจจุบัน มีนักเรียนจากจังหวัดใกล้เคียงมาเรียนดังนี้ จังหวัดนครปฐม ร้อยละ ๗๐.๓๑  จังหวัดราชบุรี ร้อยละ ๒.๒๘  จังหวัดกาญจนบุรี ๒๑.๖๙  จังหวัดอื่น ๆ ร้อยละ ๕.๑๑